News
Local

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ร่วมกับ FORUM-ASIA มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) และ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ร่วมกับ FORUM-ASIA มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) และ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย

ตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมได้ร่วมจัดประชุมในหัวข้อ “สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นหลังจาก 1 ปี ที่มีการประกาศใช้แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP)” (Thailand: Business and Human Rights Situation 1 Year after NAP) เพื่อหารือเกี่ยวกับผลการดำเนินการตามแผนฯ และเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่อองค์การสหประชาชาติ สถานทูต และกระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2020 ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับ FORUM-ASIA มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ โดยมีผู้แทนจากภาคประชาสังคมไทยกว่า 90 คน ในแต่ละเสาหลักของแผนฯ เข้าร่วม โดยข้อเสนอแนะจากองค์กรพันธมิตรมาจากการประสบการณ์ตรงในการติดตามสถานการณ์ การปกป้องสิทธิมนุษยชน การจัดการกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทของการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศที่แรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ และชุมชนท้องถิ่นประสบ

“เป็นระยะเวลาหนึ่งปีแล้วที่ประเทศไทยเริ่มดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติฯ ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมมีิการติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด การจัดงานครั้งนี้เป็นโอกาสให้องค์กรต่าง ๆ ร่วมถอดบทเรียน แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและความท้าทายที่เกิดขึ้น” นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความและผู้ประสานงานของ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) กล่าว

“เราหวังว่าผลลัพธ์จากการประชุม จะช่วยสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในการดำเนินการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติฯ ปรับปรุงการดำเนินธุรกิจและปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในปีต่อ ๆ ไป”
นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า กล่าวเสริม

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ประกาศใช้แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาโดยเอกสารดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles - UNGP) ปี 2011 ในเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศ ตามกรอบ UNGP แผนปฏิบัติการแห่งชาติของไทยตระหนักถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลไทยในการปกป้องสิทธิมนุษยชน และความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในการเคารพพวกเขา รวมถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลและภาคธุรกิจในการทำให้คนงานทุกคนรวมถึงแรงงานข้ามชาติเข้าถึงการเยียวยามีประสิทธิภาพ

“แรงงานข้ามชาติมีความสำคัญในเศรษฐกิจไทย ทว่ายังคงเสี่ยงต่อการสรรหางานอย่างผิดจริยธรรมและการมีการละเมิดสิทธิแรงงาน IOM เล็งเห็นถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการดูแลให้ภาคธุรกิจเคารพและปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติผ่านแผนปฏิบัติการแห่งชาติฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราเห็นถึงความมุ่งมั่นในการทบทวนกฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริม ‘หลักการผู้ว่าจ้างครอบคลุมค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการสรรหาแรงงาน” นางสาวเจรัลดีน อองซาร์ค หัวหน้าสํานักงานองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ประจำประเทศไทย กล่าว

ตัวแทนภาคประชาสังคมจากกลุ่มต่าง ๆ ที่หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในแผนปฏิบัติการแห่งชาติ ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลไทยในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2020 ข้อเสนอแนะดังกล่าวระบุแนวทางในการดำเนินการใน 4 ประเด็นหลักของแผนปฏิบัติการแห่งชาติฯ ได้แก่ (1) แรงงาน (2) ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ (4) การลงทุนระหว่างประเทศของธุรกิจไทยและบรรษัทข้ามชาติ

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) ได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากภาคประชาสังคมไว้ในเอกสารสรุป ซึ่งจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของรายงานเกี่ยวกับธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนฉบับแรกที่กระทรวงยุติธรรมและองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้น ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของภาคประชาสังคมไทย ซึ่งจะได้รับการพิจารณาในระหว่างการทบทวนแผนปฏิบัติการแห่งชาติฯ ประจำปี ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2563 โดยจะทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในปีต่อ ๆ ไป

ในขณะที่โลกยังคงปรับตัวและ่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 การตระหนักถึงสิทธิของแรงงานทุกคนรวมถึงแรงงานข้ามชาติในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก การสนับสนุนของรัฐบาลไทยในการร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่สังคมโลกกำลังอยู่ในสภาวะ ‘New Normal’

ความพยายามในการสนับสนุนเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมศักยภาพในการสนับสนุนการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม (CREST) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Swedish International Development Agency และ โครงการ CREST Fashion ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Laudes Foundation

โครงการ CREST เป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคส่งเสริมศักยภาพของภาคธุรกิจในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานของแรงงานข้ามชาติในการดำเนินงานและในห่วงโซ่อุปทาน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ CRESTThailand@iom.int