-
Who We Are
WHO WE AREThe International Organization for Migration (IOM) is part of the United Nations System as the leading inter-governmental organization promoting since 1951 humane and orderly migration for the benefit of all, with 175 member states and a presence in over 100 countries.
About
About
IOM Global
IOM Global
-
Our Work
Our WorkAs the leading inter-governmental organization promoting since 1951 humane and orderly migration, IOM plays a key role to support the achievement of the 2030 Agenda through different areas of intervention that connect both humanitarian assistance and sustainable development.
Cross-cutting (Global)
Cross-cutting (Global)
- Data and Resources
- Take Action
- 2030 Agenda
National Consultation to Enhance Migration Governance and Policies in Thailand
Bangkok, 31 May 2024 - The Royal Thai Government (RTG) and the International Organization for Migration (IOM) hosted the first national consultation on migration to review Thailand's migration policies and identify priorities to enhance migration governance in line the Global Compact for Migration (GCM), using IOM’s Migration Governance Indicators (MGI) assessment as a starting point for the discussion.
“The promotion of a safe, orderly, and regular migration is a shared goal among international community,” remarked Pinsuda Jayanama, the Director-General of the Department of International Organizations, Ministry of Foreign Affairs. “It is our hope that today’s consultation will pave ways to more integrated, effective, well-balanced and inclusive migration management policies in Thailand, so that migrants can contribute to the country’s economic and social development, while their rights and well-being are appropriately protected and promoted.”
Migration is widely recognised as a key accelerator of sustainable development. However, this is only possible when migration is well managed, and governments ensure migration policies and practices are rights based.
“As a home to nearly half of ASEAN migrant workers who contribute up to seven percent of the Gross Domestic Product, Thailand is a proof of how human mobility can be a force for progress and how migration can be leveraged to reach the sustainable development goals,” highlighted Renaud Meyer, the UN Resident Coordinator (ad interim).
The consultation brought together over 150 stakeholders from government, civil society, private sector, academia, and migrant communities to discuss multiple dimensions of migration and identify opportunities to strengthen migration governance in Thailand.
The recommendations derived from this consultation will be used by the Government and other stakeholders to inform efforts to implement responsive migration governance in line with the principles and objectives outlined in the GCM.
Speakers at the consultation delved deeper into these priorities, with a specific focus on harnessing the positive contributions of migrants to Thailand's social and economic development. Participants identified ways forward for well-coordinated policies and regular pathways that better facilitate migrants’ access to decent work, legal identity and social services, including healthcare, education and social protection.
“People-centered migration policies empower migrants, better protect their rights, and contribute to greater prosperity in the countries they come from and those that host them,” said Géraldine Ansart, Chief of Mission at IOM Thailand. “Engaging in these forward-thinking dialogues can also help to find solutions to current labour shortages and demographic changes, drive innovation and provide government and business partners with future sustainable development strategies.”
The consultation comes at an opportune time, as Thailand prepares for the GCM Regional Review of the actions set out in the Progress Declaration of the 2022 International Migration Review Forum (IMRF). Recommendations gathered from the consultation will not only inform policies for the national development plans but also pledges under the 2026 IMRF.
---
For more information, please contact Joanna Francesca Dabao (jdabao@iom.int) or Nirut Bannob (nbannob@iom.int).
For media inquiries, please contact Anushma Shrestha (anshrestha@iom.int)
---
รัฐบาลไทยและไอโอเอ็มจัดการหารือระดับชาติ ยกระดับการบริหารจัดการและนโยบายการโยกย้ายถิ่นฐานของประเทศไทย
กรุงเทพฯ (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) จัดการประชุมระดับชาติ ว่าด้วยการจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานของประเทศไทย เพื่อทบทวนนโยบายการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐาน และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานของไทย ให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (Global Compact for Migration หรือ GCM) โดยใช้ตัวชี้วัดการจัดการการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Governance Indicators: MGIs) ของไอโอเอ็มเป็นจุดเริ่มต้นในการหารือ
“การส่งเสริมการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ เป็นเป้าหมายร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ” นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศกล่าว “ดิฉันหวังว่าการหารือในวันนี้จะปูทางไปสู่นโยบายการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานที่ครอบคลุม มีการบูรณาการ มีประสิทธิภาพ และมีความสมดุลมากขึ้นเพื่อให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย และได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม”
การโยกย้ายถิ่นฐานได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้จำเป็นต้องมีการจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างเหมาะสม โดยมีรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติบนพื้นฐานของสิทธิ์
นายเรอโน เมแยร์ รักษาการผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เน้นย้ำว่า “ประเทศไทยถือเป็นบ้านอีกหลังของแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยแรงงานเหล่านี้มีส่วนช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ของไทยถึงร้อยละ 7 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าการเคลื่อนที่ของผู้คนคือแรงขับเคลื่อนที่สามารถพาประเทศก้าวไปข้างหน้า และยิ่งหากมีการจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างเหมาะสมก็จะทำให้ประเทศไทยเข้าใกล้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เร็วขึ้น”
การประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งทางภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้โยกย้ายถิ่นฐานให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 170 คน เพื่อหารือประเด็นในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานและโอกาสในการเสริมสร้างการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทยให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
โดยทางรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการหารือ ในครั้งนี้ไปพัฒนาแผนการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานให้สอดคล้องกับหลักการและเป้าหมายที่ได้วางไว้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (GCM)
ผู้ร่วมสนทนายังได้เจาะลึกถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ โดยเน้นไปที่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้โยกย้ายถิ่นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของไทย ในขณะเดียวกันก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงนโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างช่องทางการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานแบบปกติปกติ เพื่อช่วยให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานเข้าถึงงานที่มีคุณค่า อัตลักษณ์ทางกฎหมาย และการบริการทางสังคม ซึ่งรวมถึงบริการสาธารณสุข การศึกษา และการคุ้มครองทางสังคม
“นโยบายด้านการโยกย้ายถิ่นฐานที่มุ่งเน้นผู้คนเป็นศูนย์กลางจะช่วยเสริมสร้างบทบาทและคุ้มครองสิทธิของผู้โยกย้ายถิ่นฐานได้ดีขึ้น และยังมีส่วนในการสร้างความมั่งคั่งให้ไม่เพียงแต่ประเทศต้นทาง แต่ยังรวมถึงประเทศปลายทางที่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานย้ายเข้ามาอยู่ด้วย โดยการที่ไทยมีส่วนร่วมในการหารือที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนไปสู่อนาคตจะช่วยให้ไทยสามารถหาทางออกจากสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานและการเปลี่ยนแปลงทางประชากรได้ ทั้งยังสามารถสร้างนวัตกรรมและกลยุทธ์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน” นางสาวเจอรัลดีน อองซาร์ค หัวหน้าสำนักงานไอโอเอ็มประเทศไทย กล่าว
การประชุมฯ ครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสมขณะไทยอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการทบทวนการดำเนินงานในระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (GCM) ที่มีการกำหนดไว้ในคำประกาศความคืบหน้าการดำเนินงานในการประชุมทบทวนผลการปฏิบัติการในระดับโลกปี พ.ศ. 2565 (the Progress Declaration of the 2022 International Migration Review Forum (IMRF)) ข้อเสนอแนะที่มีการรวบรวมจากการประชุมฯ ครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการกำหนดแนวนโยบายและแผนงานพัฒนาระดับชาติและการพิจารณาคำมั่นของไทยในการการประชุมทบทวนผลการปฏิบัติการในระดับโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2573 อีกด้วย
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 10 16 และ 17
เป้าหมายตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ ข้อ 4 16 19 และ 23
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อโจอันนา ดาเบา (jdabao@iom.int) หรือ นายนิรุตติ์ บ้านนบ(nbannob@iom.int)
หากมีข้อสงสัยด้านสื่อและการประชาสัมพันธ์ โปรดติดต่อ อนุชมา เชรษฐา (anshrestha@iom.int)