-
Who We Are
WHO WE AREThe International Organization for Migration (IOM) is part of the United Nations System as the leading inter-governmental organization promoting since 1951 humane and orderly migration for the benefit of all, with 175 member states and a presence in over 100 countries.
About
About
IOM Global
IOM Global
-
Our Work
Our WorkAs the leading inter-governmental organization promoting since 1951 humane and orderly migration, IOM plays a key role to support the achievement of the 2030 Agenda through different areas of intervention that connect both humanitarian assistance and sustainable development.
Cross-cutting (Global)
Cross-cutting (Global)
- Data and Resources
- Take Action
- 2030 Agenda
Op-ed: Human Trafficking - It's Closer Than You Think / การค้ามนุษย์ – ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด
30/07/2017 - (ภาษาไทย กรุณาอ่านด้านล่าง) Today is World Day against Trafficking in Persons – a day where we give a voice to the many victims of trafficking who live among us, but have been forced into silence due to threats to their life, retaliation against their family, feelings of hopelessness, or being enslaved and physically unable to speak out.
Human trafficking is big business. Globally, billions of dollars of profit are made from a criminal practice wherein millions of people, hoping for better lives, are enslaved. The actual numbers are hard to estimate, but we know they are staggering and estimates continue to grow.
In Southeast Asia, data from those assisted by the International Organization for Migration (IOM) show that the region is a hotbed of trafficking, accounting for a quarter of all cross-border cases identified worldwide. Most victims do not travel far as movements are largely intra-regional and domestic.
Most of us who read columns like this know what human trafficking is – the exploitation of people made to work in unjust circumstances through use of force or other means of coercion. We know that victims of trafficking are often subjected to abuse such as rape, torture and unlawful confinement, among other forms of physical, sexual and psychological violence.
What we tend to be unaware of is the pervasiveness of the crime. In Thailand, there is a perception that trafficking is primarily limited to women in the sex industry. While it is true that the majority of profits are derived from the lucrative sex trade, profiteering from the trafficking and exploitation of people is also present in many more sectors, and does not discriminate between genders. Men, women and children are all at risk.
Human trafficking does not only occur on the fringes of society; it is a part of an everyday reality, and we may unknowingly be complicit with the trade. Numerous media exposés have linked the food we eat with slave labour on farms and fishing boats – a significant area of concern for Thailand. Victims of trafficking are also known to work at hotels, construction sites and bars. Many victims find themselves labouring for years receiving only a small fraction of the payment they were promised or without receiving any payment for their work at all.
One of the reasons for this trend is the demand for cheap goods and services, which in turn depend on cheap labour. Countries both rich and poor rely on migrant workers to fill jobs that are known as “3D” – dirty, dangerous and difficult. Men and women, typically from communities with large numbers of people ready to enter the workforce but finding limited opportunities, are often tricked or forced into these hard labour jobs under the premise of good wages in sectors like agriculture, construction, domestic work and manufacturing.
Protecting these migrant workers remains an uphill task. Inadequate channels for migrants to secure work and the lack of systems by which skills accumulated through work experience are recognized and rewarded puts migrant workers at risk of exploitation through fraudulent recruitment agencies and brokers. Their vulnerability to traffickers is then compounded by their lack of awareness of their rights and recourse should they find themselves in a situation of exploitation.
Tackling the issue requires a holistic approach and efforts from all stakeholders. Thankfully in the case of Thailand, a plethora of organizations, each with their own unique approaches, exist to protect and assist victims.
NGOs are often the first organizations that establish contact with victims and provide essential support. IOM – the UN Migration Agency, places priority on protection and prevention, training frontline officials on victim identification, conducting safe migration outreach in migrant communities, preparing victims of trafficking for trials as witnesses and providing them with reintegration assistance.
On the part of the Royal Thai Government, combating human trafficking remains high on the national agenda. Significant progress has been made since Thailand was elevated from Tier 3 to Tier 2 Watchlist of the US State Department’s Trafficking in Persons Report in 2016 (where it remains today).
Notable improvements include amendments to the Anti-Trafficking Act, which now clearly spells out the definition of Forced Labour and increases provisions for punishment; as well as the enactment of several key ministerial regulations that restrict unlicensed recruitment agencies and allow migrant trafficking victims to stay in Thailand for up to two years.
Thailand is also proactive in initiating cross-border cooperation. Since the world’s first bilateral Memoranda of Understanding on trafficking was signed with Cambodia in 2003, Thailand has continued to set up similar collaborations with its other neighbours; the most active of which is the area-based Border Cooperation Mechanism on Anti-Trafficking in Persons (BCATIP). Set in 2011, the IOM-facilitated Mechanism focuses on information exchange and returns with Myanmar.
At every level, more can always be done on prevention and more assistance can always be provided to victims. In addition, emphasis should also be placed on engagement at the citizen level, something that has yet to become commonplace in Thailand despite the Royal Thai Government’s strong promotion of its National Anti-Trafficking Hotline- 1300.
Recently, IOM received a tip-off from a member of the public who suspected a woman he was chatting with on a popular dating app had been forced into prostitution. Follow-up eventually found that she had indeed been trafficked, and was rescued by an NGO partner. She has since returned to her country of origin with IOM’s help and is being provided with reintegration assistance. This example perfectly illustrates the importance of educating the public on recognizing victims of trafficking and the available avenues of assistance.
This World Day Against Trafficking in Persons, and every day of the year, let us not turn a blind eye to the severe violations of human rights that occur on a daily basis. Instead, we should speak against these atrocities and work to give a voice to those that need it most.
---------------------------------------
วันนี้เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์สากล วันที่เราเป็นกระบอกเสียงให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งอาศัยอยู่ในสังคมร่วมกับเรา ผู้ซึ่งถูกบังคับให้ต้องเก็บประสบการณ์อันเลวร้ายไว้กับตนเอง เนื่องจากถูกคุกคามถึงชีวิตและความปลอดภัยของสมาชิกในครอบครัว กลายเป็นความรู้สึกสิ้นหวัง ถูกจองจำและกักขังไม่ให้สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตนเองได้
การค้ามนุษย์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ อาชญากรรมค้ามนุษย์ทั่วโลกทำกำไรหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จำนวนมากที่มุ่งแสวงหาชีวิตที่ดี กลับต้องตกเป็นทาสและถูกแสวงประโยชน์ แม้จะไม่มีประมาณการจำนวนผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ชัดเจน แต่เรารู้กันว่าจำนวนผู้เสียหายทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งได้รับความช่วยเหลือโดยไอโอเอ็ม ชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งค้ามนุษย์ขนาดใหญ่ ซึ่งจำนวนผู้เสียหายที่พบในภูมิภาคนี้มีจำนวนมากเป็น 1 ใน 4 ของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่พบทั่วโลก โดยผู้เสียหายส่วนใหญ่โยกย้ายถิ่นภายในภูมิภาค หรือเขตแดนประเทศตนเอง
ผู้ที่อ่านบทความลักษณะนี้ทราบดีว่าการค้ามนุษย์ คือ การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ โดยการบังคับให้บุคคลทำงานในสภาพที่ไม่เป็นธรรม โดยใช้กำลังหรือโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ เรายังทราบดีว่าผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มักต้องประสบกับการถูกข่มเหงหลายรูปแบบ อาทิ การข่มขืน การทรมาน การกักขังหน่วงเหนี่ยว อันนอกเหนือไปจากการใช้ความรุนแรงทางร่างกาย ทางเพศ และทางจิตใจ
คนส่วนใหญ่อาจไม่ตระหนักว่าการค้ามนุษย์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่คิดว่าการค้ามนุษย์มักเกิดกับผู้หญิงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทางเพศเท่านั้น ซึ่งแม้ส่วนใหญ่ของกำไรที่ได้จากการค้ามนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทางเพศ แต่ก็พบการค้ามนุษย์ด้านแรงงานซึ่งมีอยู่มากในหลายภาคธุรกิจที่แสวงประโยชน์จากผู้เสียหายโดยไม่เลือกเพศ ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก มีความเสี่ยงที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทั้งสิ้น
การค้ามนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นในส่วนเล็ก ๆ ของสังคมเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา และเราไม่อาจรู้ได้ว่ามีส่วนส่งเสริมอาชญากรรมนี้ได้อย่างไร สื่อหลายสำนักพยายามสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่เรากิน กับการใช้แรงงานทาสในภาคเกษตรกรรม และในเรือประมง อันเป็นภาคส่วนที่พบปัญหามากที่สุดในประเทศไทย ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจทำงานในโรงแรม สถานที่ก่อสร้าง และสถานบันเทิง โดยผู้เสียหายจำนวนมากทำงานยาวนานหลายปีโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้รับค่าจ้างเพียงส่วนหนึ่งซึ่งไม่สามารถเทียบได้กับหยาดเหงื่อแรงงานที่พวกเขาได้เสียไป
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การค้ามนุษย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือ ความต้องการสินค้าและบริการราคาถูก จึงทำให้ภาคธุรกิจต้องพึ่งพาการจ้างแรงงานค่าแรงต่ำ ทั้งประเทศร่ำรวยและยากจนต่างก็มีความต้องการแรงงานข้ามชาติเพื่อทำงานประเภท 3D กล่าวคือ งานสกปรก งานอันตราย และงานยาก โดยแรงงานชายและหญิง โดยเฉพาะแรงงานจากพื้นที่ที่มีประชากรวัยทำงานจำนวนมากและไม่สามารถเข้าถึงโอกาสการจ้างงานได้ มักถูกล่อลวงหรือบังคับให้มาทำงานเหล่านี้ โดยหลงเชื่อคำสัญญาว่าจะได้ค่าตอบแทนที่ดี ทั้งงานในภาคเกษตรกรรม งานก่อสร้าง งานรับใช้ในบ้าน และงานในภาคการผลิต
เห็นได้ชัดว่าแรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะถูกค้ามนุษย์ด้านแรงงาน สาเหตุเป็นเพราะการคุ้มครองและปกป้องแรงงานข้ามชาติยังมีความท้าทายอยู่มาก แรงงานข้ามชาติมีช่องทางเข้าถึงการจ้างงานที่จำกัด และไม่มีระบบซึ่งคำนึงถึงทักษะ และประสบการณ์การทำงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจ้างแรงงานกลุ่มนี้ ทำให้แรงงานข้ามชาติมีความเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์โดยนายหน้า และบริษัทจัดหางานผิดกฎหมาย ความเปราะบางเหล่านี้เป็นผลจากความไม่รู้สิทธิ และไม่สามารถเข้าถึงช่องทางร้องเรียน ทำให้แรงงานข้ามชาติตกเป็นเหยื่อของการแสวงประโยชน์
การแก้ปัญหาค้ามนุษย์จำเป็นต้องใช้แนวทางแบบองค์รวม และอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ซึ่งนับเป็นความโชคดีที่ประเทศไทยมีองค์กรจำนวนมากซึ่งเป็นเครือข่ายที่ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เป็นมักเป็นกลุ่มแรกที่เข้าถึงผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพื่อให้ความช่วยเหลือพื้นฐานที่จำเป็น นอกจากนี้ ไอโอเอ็ม อันเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติด้านการโยกย้ายถิ่นฐาน ให้ความสำคัญลำดับต้นกับการคุ้มครองผู้เสียหาย และการป้องกันการค้ามนุษย์ โดย ไอโอเอ็ม ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง อันได้แก่ การจัดกิจกรรมการเสริมศักยภาพด้านการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เรื่องการย้ายถิ่นอย่างปลอดภัยในชุมชนผู้ย้ายถิ่น จัดเตรียมบริการที่เหมาะสมให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมเพื่อให้ผู้เสียหายมีความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในฐานะพยาน และให้ความช่วยเหลือในการคืนสู่สังคมของผู้เสียหาย
ในส่วนของรัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของปัญหานี้ และกำหนดให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยไทยมีพัฒนาการด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์หลายด้านซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยได้รับการยกระดับจากกลุ่มประเทศในเทียร์ 3 สู่กลุ่มประเทศในเทียร์ 2 (เฝ้าระวัง) ในผลการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons – TIP Report) ของสหรัฐอเมริกา ประจำปี พ.ศ. 2559 และคงระดับจนถึงปีปัจจุบัน
พัฒนาการของไทยที่เห็นได้ชัด คือการแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ได้ให้คำจำกัดความของแรงงานบังคับอย่างชัดเจน และเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดให้รุนแรงขึ้น รวมถึงออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมบริษัทจัดหางานผิดกฎหมาย และอนุญาตให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทยได้ 2 ปี หลังการดำเนินคดีสิ้นสุด
ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการริเริ่มความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการค้ามนุย์ โดยไทยลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและหญิง และการช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ ระหว่างไทยและกัมพูชา อันถือเป็นความตกลงทวิภาคีด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ฉบับแรกของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน ไทยพัฒนาความร่วมมือทวิภาคีในลักษณะเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างพื้นที่ชายแดน โดยจัดตั้งศูนย์ประสานงานชายแดนเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งริเริ่มในปี พ.ศ. 2554 โดยไอโอเอ็มมีส่วนร่วมในการสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าวระหวางไทย-เมียนมา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการรับกลับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
การป้องกันการค้ามนุษย์ และการสนับสนุนความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในทุกระดับ โดยในระดับสาธารณะ ควรมีการเสริมสร้างความตระหนักรู้ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการป้องกันการค้ามนุษย์ ควบคู่ไปกับความพยายามของรัฐบาลไทยในการสนับสนุนการเข้าถึงสายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
การค้ามนุษย์พบได้ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด และสาธารณชนมีบทบาทสำคัญในการสอดส่องและให้เบาะแสอันจะนำไปสู่การช่วยเหลือผู้เสียหาย ในช่วงที่ผ่านมา ไอโอเอ็มได้รับข้อมูลจากพลเมืองดีซึ่งสงสัยว่าผู้หญิงที่เขาพูดคุยด้วยผ่านแอพพลิเคชันหาคู่ชื่อดังอาจเป็นเหยื่อการบังคับค้าประเวณี ซึ่งภายหลังพบว่าเธอเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จริง และได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ท้ายที่สุดเธอได้รับความช่วยเหลือในการเดินทางกลับประเทศต้นทางโดยไอโอเอ็ม และกำลังอยู่ในระหว่างการรับความช่วยเหลือในการคืนสู่สังคม ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า การสร้างความตระหนักรู้ในสังคม เพื่อให้เข้าใจลักษณะของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และข้อมูลช่องทางการร้องเรียนเมื่อพบกรณีที่น่าสงสัย มีความสำคัญอย่างมากในการป้องกันและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ในวันต่อต้านการค้ามนุษย์สากล และในทุกวันตลอดปี เราต้องไม่เพิกเฉยต่อการค้ามนุษย์ อันเป็นอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนหลายคน เราต้องช่วยกันต่อสู้อาชญากรมอันร้ายแรงนี้ และเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมรอบข้างมากที่สุด
เดน่า เกรเบอร์ ลาเด็ก หัวหน้าสำนักงานองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) ประเทศไทย
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration : IOM) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2494 เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งเป็นผู้นำในประเด็นด้านการโยกย้ายถิ่นฐาน และมีสถานะเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับองค์การสหประชาชาติ
ไอโอเอ็มประกอบด้วยประเทศสมาชิก 166 ประเทศ และมีประเทศผู้สังเกตการณ์ 8 ประเทศ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานที่ตั้งมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ไอโอเอ็มยึดมั่นในหลักการที่ว่า การย้ายถิ่นที่มีมนุษยธรรมและเป็นระเบียบเรียบร้อยจะเป็นประโยชน์กับทุกคน ในการที่จะบรรลุพันธกิจนี้ไอโอเอ็มได้ให้บริการและข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลและผู้ย้ายถิ่น