News
Local

Migrant Workers Need More Inclusive Welfare: New IOM Study Reiterates

Bangkok – Despite significant progress in extending social protection to migrant workers in Thailand, a new study launched this month by the International Organization for Migration (IOM) found that many are still excluded from or have limited access to the existing schemes. 

This study offers the most recent and comprehensive review of Thailand’s social protection system, including in relation to its design, coverage, and accessibility for nearly four million migrant workers residing in the country.  

It sets policy recommendations for maximizing identified best practices and addressing the remaining institutional gaps, especially in the context of the COVID-19 pandemic. 

“Legal exclusion by design, limited enforcement, compliance, and monitoring prevent many migrant workers from accessing social protection benefits such as maternity leave or health care,” said Ms. Geraldine Ansart, Chief of Mission at IOM Thailand. 

Depending on their sector of employment and legal status in Thailand, migrant workers are offered a varying level of social protection coverage.  

“Too often, migrant workers’ access to these schemes is curtailed by the employers’ willingness to fulfill their legal obligation of registering migrant workers in the first place and paying regular contributions on their behalf,” added Ms. Ansart. 

The study reveals that only two in five regular migrant workers enjoy the Social Security Fund that offers the most comprehensive coverage, including maternity benefits, unemployment support, or pension, and the Workmen's Compensation Fund, offering for example occupational injury compensation. Slightly fewer women migrant workers than men are insured under these schemes. 

Three in every ten regular migrant workers enjoy basic health protection through the Migrant Health Insurance Scheme that they purchased in 2019.  

Despite having the right to do so, migrant workers rarely claim their benefits. Of those insured, only nine per cent submitted claims to the Social Security Fund, two per cent to the Workmen's Compensation Fund, and 13 per cent to the Migrant Health Insurance Scheme in 2019, the study notes. 

COVID-19 severely impacted lives and livelihoods. According to the study, the number of Social Security Fund claims for health care dropped from 50 per cent of all claims made by migrant workers in 2019, to 30 per cent in 2020, due to, among others, language barriers, inability to pay some small fees upfront, and increased discriminatory behavior by service providers. 

On the contrary, the number of claims for unemployment benefits skyrocketed from two per cent in 2019 to 42 per cent in 2020. Yet, these numbers do not represent the challenges facing migrant workers in the informal economy who are not entitled to unemployment benefits or any other type of economic support. 

“The pandemic has brought a renewed attention to social protection as a crisis response and recovery tool, while also serving as a hard reminder that we are only as safe as the most vulnerable among us are,” said Ms. Gita Sabharwal, the United Nations Resident Coordinator in Thailand.  

“Only with an inclusive approach to social protection that truly leaves no one behind, including migrant workers, we are able to build back better from the pandemic, and prepare for other crises to come,” she added. 

Ms. Patcharee Arayakul, the Permanent Secretary of the Ministry of Social Development and Human Security, notes the solid partnership between the Royal Thai Government and the United Nations on the study.  

“This study is an evidence-based resource for the Thai Government and the United Nations to continue our collective efforts to make a right to social protection a step closer to reality for all,” Ms. Araykul emphasized.  

Note: 

The Background Study on Social Protection for Migrant Workers and Their Families in Thailand was developed by IOM in close collaboration with the Ministry of Social Development and Human Security. The study is published as part of the United Nations Joint Programme on Social Protection for All in Thailand, funded by the Joint SDGs Fund and implemented by the International Labour Organization (ILO), IOM, the United Nations Children’s Fund (UNICEF), and the United Nations Entity for Gender Equality and the Empowerment of Women (UN Women). 

Access the full study here: Social Protection for Migrant Workers in Thailand 

 

For more information, please contact IOM Thailand Media Team at mediathailand@iom.int or Maximilian Pottler at mpottler@iom.int   


แรงงานข้ามชาติควรมีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมที่มีครอบคลุมมากยิ่งขึ้น: การศึกษาฉบับล่าสุดของไอโอเอ็ม 

กรุงเทพ – แม้ว่าประเทศไทยได้มีความพยายามในการพัฒนาและขยายการคุ้มครองทางสังคมให้แก่แรงงานข้ามชาติ แต่รายงานการศึกษาฉบับล่าสุดขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) พบว่าแรงงานข้ามชาติจำนวนมากยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมต่างๆ ที่มีอยู่ 

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการทบทวนของระบบการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยที่มีความทันสมัยและครอบคลุมเนื้อหาอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การออกแบบโครงการ ความครอบคลุมของโครงการ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันของแรงงานข้ามชาติจำนวนประมาณเกือบสี่ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย 

นอกจากนี้ การศึกษาข้างต้นยังให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้รองรับการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตลอดจนเพื่อลดช่องว่างและอุปสรรคเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นางสาวเจอรัลดีน อองซาร์ค  หัวหน้าสำนักงานไอโอเอ็มประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่า “ข้อจำกัดทางกฎหมายอันเนื่องมาจาก การออกแบบโครงการคุ้มครองทางสังคม  การบังคับใช้และการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงการติดตามตรวจสอบ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการเข้าถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองทางสังคมของแรงงานข้ามชาติ เช่น สิทธิประโยชน์การลาคลอด หรือ การบริการดูแลสุขภาพ”  

แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมในระดับที่แตกต่างกัน โดยจะขึ้นอยู่กับภาคส่วนการจ้างงานและสถานะการย้ายถิ่นของแรงงานตามกฎหมายในประเทศไทย  

นางสาวเจอรัลดี ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในหลายครั้ง อุปสรรคของการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมของแรงงานข้ามชาติมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้างในการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการขาดการจ่ายเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง”  

รายงานการศึกษาฉบับนี้ได้เปิดเผยว่า จากจำนวนแรงงานข้ามชาติที่มีสถานะปกติทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีเพียงแค่ สองในห้าคนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเข้าสู่กองทุนประกันสังคม ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ที่มีความครอบคลุมมากที่สุด เช่น สิทธิประโยชน์ การคลอดบุตร เงินช่วยเหลือกรณีการว่างงาน หรือเงินบำนาญ และกองทุนเงินทดแทน ซึ่งให้สิทธิประโยชน์สำคัญ เช่น เงินชดเชยการขาดรายได้จากการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งนี้ จำนวนผู้ประกันตนแรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้หญิงมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนผู้ประกันตนแรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ชายในทั้งสองกองทุน 

แรงงานข้ามชาติจำนวนสามในสิบคนได้ซื้อบัตรประกันสุขภาพตามแผนการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวใน พ.ศ. 2562  แต่การคุ้มครองดังกล่าวยังคงจำกัดเฉพาะการดูแลรักษาสุขภาพเท่านั้น ทั้งนี้ แม้ว่าแรงงานข้ามชาติจะมีสิทธิเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม แต่ในทางปฏิบัติพบว่า ยังมีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่เข้า ไม่ถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองทางสังคมต่างๆ การศึกษาฉบับนี้พบว่า มีเพียงแค่ร้อยละ 9 ของผู้ประกันตนแรงงานข้ามชาติที่ได้มีการยื่นคำร้องเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม ร้อยละ 2 จากกองทุนเงินทดแทน และร้อยละ 13 จากแผนการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวใน พ.ศ. 2562  

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงานข้ามชาติ  โดยการศึกษาฉบับนี้พบว่า จำนวนคำร้องเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพภายใต้กองทุนประกันสังคมนั้นลดลง จากร้อยละ 50 ของคำร้องทั้งหมดที่ได้มีการยื่นโดยแรงงานข้ามชาติใน พ.ศ. 2562 เหลือเพียงร้อยละ 30 ใน พ.ศ.2563 อันเนื่องมาจากอุปสรรคทางด้านภาษา การไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมล่วงหน้า และการเลือกปฏิบัติโดยผู้ให้บริการ 

ในขณะที่จำนวนคำร้องเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีการว่างงานนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 2 ใน พ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ใน พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้นยังไม่รวมถึงแรงงานข้ามชาติในภาคส่วนการจ้างงานนอกระบบ  เนื่องจากแรงงานในภาคส่วนดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีสิทธิในกองทุนประกันสังคม ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ครอบคลุมกรณีการว่างงานหรือการช่วยเหลือเยียวยาอื่นๆ 

 “การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองทางสังคม ในฐานะเครื่องมือเพื่อรับมือและฟื้นฟูจากวิกฤต ในขณะเดียวกันก็เป็นการย้ำเตือนว่าพวกเราทุกคนจะปลอดภัยและรอดพ้นจากการแพร่ระบาดครั้งนี้ได้หากทุกคน   รวมถึงกลุ่มคนเปราะบางนั้นมีความปลอดภัยด้วย” นางกีตา ซับบระวาล  ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยกล่าว 

“การดำเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคมที่มีความครอบคลุมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงแรงงานข้ามชาติ จะทำให้สามารถพัฒนาและฟื้นฟูประเทศจากการแพร่ระบาดของโรคโควิดได้ ตลอดจนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับวิกฤติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต” นางกีตา กล่าวเพิ่มเติม 

นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทยและหน่วยงานสหประชาชาติในการจัดทำรายงานการศึกษาครั้งนี้ 

“รายงานการศึกษาฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีหลักฐานรองรับ สำหรับรัฐบาลไทยและหน่วยงานสหประชาชาติในการสานต่อความมุ่งมั่นและการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อสิทธิในการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมให้มีความครอบคลุมสำหรับทุกคนในประเทศไทย” นางพัชรี ได้กล่าวเน้นย้ำ 

สามารถดูรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ได้ที่: การคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในประเทศไทย 

ข้อมูลเพิ่มเติม 

รายงานการศึกษาภูมิหลังเรื่องการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในประเทศไทยจัดทำขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ผ่านความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานการศึกษาฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการคุ้มครองทางสังคมสำหรับทุกคนในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนร่วมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และดำเนินการโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ 

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ IOM Thailand Media Team ที่ mediathailand@iom.int หรือ Maximilian Pottler ที่ mpottler@iom.int   

SDG 1 - No Poverty
SDG 3 - Good Health and Well Being
SDG 8 - Decent Work and Economic Growth
SDG 5 - Gender Equality
SDG 10 - Reduced Inequalities