News
Local

IOM Supports Thailand’s Plan to Reopen Borders to Migrant Workers through Trainings in Coordination with the Department of Employment, Ministry of Labour

Bangkok – Nearly two years after the beginning of the COVID-19 which triggered the Royal Thai Government to suspend its labour migration agreements with neighboring countries, the authorities have now taken steps towards a reopening in 2022. Employers have been allowed to submit demand letters to initiate the recruitment requests since December 2021 and quarantine capacities are being set up. The Royal Thai Government expects to recruit approximately 400,000 migrant workers in 2022 to respond to existing labour shortages.

To support this process, the International Organization for Migration (IOM), together with the Department of Employment (DOE), Ministry of Labour (MOL) organized an online “Capacity Building on Post-Arrival Orientation” workshop for officials at all five Government-run Post-Arrival and Reintegration Centers in January 2022.

The workshop brought together 56 officials from five Post-Arrival and Reintegration Centers in Mukdahan, Nongkhai, Ranong, Srakeaw, and Tak provinces of Thailand. Experts from the Department of Employment, Department of Labour Protection and Welfare, Social Security Office, and Immigration Bureau also joined as trainers.

Mr. Phairoj Chotikasatien, Director-General of DOE at the Ministry of Labour, emphasized the purpose of the workshop is to equip officials at Post-Arrival and Reintegration Centers with tools and knowledge to support the arrival of migrant workers under the Memoranda of Understanding (MoUs) signed with Cambodia, Lao People’s Democratic Republic and Myanmar. The workshop included information sessions on related law and regulations, skill development for effective communication with migrant workers, and modules on diversity and inclusion. This workshop also introduced a series of new Post-Arrival Orientation (PAO) videos that are currently being developed jointly by IOM and DOE and which will be presented to migrant workers at the centers by the newly trained officials. They were designed to reduce the vulnerability of migrant workers by informing them about the various laws, regulations, practices, protection and grievance mechanisms available in Thailand.

“It is important to ensure that migrant workers have all the key information they need about working and living in Thailand, as it is an essential step to empowering them to exercise their rights and ensure their safe migration and employment in the country,” said Mr. Maximilian Pottler, Head of Labour Mobility and Human Development at IOM Thailand.

“This workshop has helped improve my understanding of the onboarding process for migrant workers in Thailand. I can effectively apply these learnings into my daily work,” said one of the participants during the feedback session.

This workshop is part of IOM's Corporate Responsibility in Eliminating Slavery and Trafficking (CREST) programme funded by the Swedish International Development Cooperation Agency, and Corporate Responsibility in Eliminating Slavery and Trafficking in the Fashion Industry (CREST Fashion) project funded by the Laudes Foundation.

For more information, please contact IOM Thailand Media and Communications team at mediathailand@iom.int or CREST team at CRESTThailand@iom.int.

Virtual Training
Virtual “Capacity Building on Post-Arrival Orientation” workshop conducted by IOM and Department of Employment, Ministry of Labour for officials at all five Government-run Post-Arrival and Reintegration Centers in January 2022.


Thai Translation

IOM ส่งเสริมการเปิดชายแดนรับแรงงานผ่านการฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถซึ่งร่วมจัดโดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

กรุงเทพฯ – เป็นเวลาสองปีตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เริ่มต้นขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลไทยระงับข้อตกลงการนำเข้าแรงงานกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามในปี 2565 รัฐบาลไทยได้ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การเปิดชายแดนอีกครั้ง นายจ้างได้รับอนุญาตให้ยื่นแบบคำร้องเพื่อเริ่มการสรรหาแรงงานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 เป็นต้นมา รวมทั้งมีการดำเนินการจัดตั้งสถานที่กักตัว ทั้งนี้ รัฐบาลไทยคาดว่าจะมีการสรรหาแรงงานข้ามชาติจำนวน 400,000 คนโดยประมาณในปี 2565 เพื่อตอบสนองต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน

เพื่อสนับสนุนกระบวนการข้างต้น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ในหัวข้อ “การฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับเจ้าหน้าที่ของศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง” เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565
เจ้าหน้าที่ของศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างในจังหวัดมุกดาหาร หนองคาย ระนอง สระแก้ว และตาก จำนวน 56 คน เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากกรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้เน้นย้ำวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างมีเครื่องมือและความรู้ในการสนับสนุนแรงงานข้ามชาติตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ซึ่งมาจากประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมา เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย การฝึกอบรมมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะสำหรับการฝึกการสื่อสารแบบผู้นำ รวมถึงการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วม

ระหว่างการฝึกอบรม ยังได้มีการแนะนำชุดวีดิทัศน์การปฐมนิเทศแรงงาน ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง ซึ่ง IOM และกรมการจัดหางานได้ร่วมกันพัฒนาและจัดทำขึ้น โดยชุดวีดิทัศน์นี้จะใช้นำเสนอแก่แรงงานข้ามชาติที่ศูนย์ฯ โดยเจ้าหน้าที่ที่รับได้ผ่านการฝึกอบรม ทั้งนี้ ชุดวีดิทัศน์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเปราะบางของแรงงานข้ามชาติโดยจะแจ้งให้แรงงานข้ามชาติทราบเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติ การคุ้มครอง และกลไกการร้องทุกข์ในประเทศไทย 

“การส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติทราบข้อมูลสำคัญทั้งหมดในเรื่องการทำงานและการใช้ชีวิตในประเทศไทย เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้แรงงานข้ามชาติรู้จักสิทธิของตน ได้รับการจ้างงานและมีการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัยในประเทศไทย” นายแม็กซิมิเลียน พอทเลอร์ หัวหน้าฝ่ายเคลื่อนย้ายแรงงานและการพัฒนามนุษย์ IOM ประเทศไทย กล่าว

“การฝึกอบรมนี้ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเตรียมความพร้อมแรงงานข้ามชาติในการทำงานในประเทศไทยมากขึ้น โดยสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้กับงานประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งให้ความเห็น

การฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจในการขจัดการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน (CREST) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA) และโครงการเสริมสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจในการขจัดการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (CREST Fashion) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Laudes Foundation.

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ IOM Thailand Media and Communications team ที่ mediathailand@iom.int หรือ CREST team ที่ CRESTThailand@iom.int
 

SDG 8 - Decent Work and Economic Growth
SDG 5 - Gender Equality
SDG 10 - Reduced Inequalities
SDG 17 - Partnerships for the Goals